วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 16 ลัทธิทางการเมือง Southeast Asia

ลัทธิทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อ Southeast Asia 

พรรณนา  
ลัทธิการเมือง คือ สิ่งที่อธิบายความเป็นมาของระบบสังคมมนุษย์ในอดีต สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต วางแนวทางการประพฤติปฏิบัติสำหรับสมาชิกในปัจจุบันและการบรรลุจุดมุ่งหวังในอนาคตพร้อมทั้งให้ความหมายแก่ชีวิต ความประพฤติและความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อสิ่งแวดล้อม และระบบสังคมทั้งมวล (ลิขิต, 2511)

ประเภทของอลัทธิทางการเมืองแบ่งออกเป็น 5 ประเภท โดย(อานนท์ อาภาภิรมย์,2545)  คือ
1. ลัทธิอนาธิปัตย์ (Anachism) หรืออรัฐนิยม
2. ลัทธิคอมมิวนิสต์ ( Communism)
3. ลัทธิสังคมนิยม (Socialism)
4. ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy)
5. ลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism)
1. อุดมการณ์หรือลัทธิอนาธิปัตย์ หรืออรัฐนิยม (Anachism)
อนาธิปัตย์หรืออรัฐนิยม เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อล้มล้างแกนกลางทางการเมือง คือ การล้มล้างรัฐ หรือองค์กรการเมืองรูปแบบอื่นๆหลักการที่สำคัญของอนาธิปัตย์คือความเชื่อมั่นว่ามนุษย์เป็นคนดี ไม่เห็นแก่ตัว ร่วมมือสร้างสรรค์ เสียสละเพื่อส่วนรวม สภาพการณ์การไม่มีรัฐเพื่อตัดสินยุติปัญหาก่อให้เกิดภาวะไร้ระเบียบหรืออนาธิปัตย์(Anarchy)ซึ่งเป็นสภาพที่ขาดองค์อธิปัตย์หรืออำนาจสูงสุดของประเทศ
2.ลัทธิคอมมิวนิสต์
อุดมการณ์คอมมิวนิสต์มีลักษณะคล้ายอุดมการณ์อรัฐนิยม เป้าหมายของลัทธิคอมมิวนิสต์ คือการทำให้รัฐสูญสลาย สิ้นไป คือ การไม่มีตัวการให้มีองค์การทางการเมือง อุดมการณ์คอมมิวนิสต์แพร่หลายในช่วงศตวรรษที่19 ถือว่าเป็นอุดมการณ์ค่อนข้างใหม่อุดมการณ์ที่ใหม่กว่าคอมมิวนิสต์ คือ อุดมการณ์ฟาสซิสม์ ซึ่งมีขึ้นในศตวรรษที่ 20 และอุดมการณ์ซ้ายใหม่ซึ่งแพร่หลายหลังปี ค.ศ. 1960 ตามทฤษฎีของ คาร์ล มาร์กซ์ สังคมคอมมิวนิสต์ ได้แก่ สังคมที่ไม่มีกลไกของรัฐ ซึ่งหมายความว่ารัฐจะต้องปราศจากองค์กรที่เกี่ยวกับการปกครองทุกประการ กล่าวคือไม่มีประมุขของรัฐ ไม่มีประมุขของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ไม่มีระบบศาลมลรัฐ สำหรับประเทศสหภาพโซเวียต คิวบา และจีนในปัจจุบันนี้แม้จะมีรัฐบาลโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ก็ถือว่าอยู่ในขั้นตอนของการมุ่งไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์คืออยู่ในสภาวะการณ์ที่เรียกว่าสังคมนิยมแบบมาร์กซ์(Marxian socialism)
ผู้วางรากฐานทฤษฎีคอมมิวนิสต์ ได้แก่ คาร์ล มาร์กซ์ ( ปี 1818 - 1883)คาร์ล มาร์ก เกิดในประเทศเยอรมนีและสืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่เป็นผู้สอนศาสนายิว ในสมัยนั้น นักปรัชญาที่มีชื่อและมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ได้แก่ ฟรีดริค เฮเกล (Friedrich Hegel) ปรัชญาของเฮเกลความเชื่อว่าการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา ฯลฯ เป็นผลมาจากความคิด ความคิดมีอิทธิพลในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในสังคมเฮเกลถือว่าศาสนาเป็นเรื่องของความคิด เป็นเรื่องของจิตมาร์กซ์ เขียนหนังสือหลายเล่มที่มีอิทธิพลมากต่ออุดมการณ์ และขบวนการคอมมิวนิสต์นานาชาติ ได้แก่ คำประกาศของคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) และทุน(Capital)คำประกาศของคอมมิวนิสต์เป็นหนังสือ ที่เขียนขึ้นร่วมกับเอ็งเกลส์ มีอิทธิพลต่อการก่อตัวของการปฏิวัติในรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 โดยมีสาระสำคัญคือ การยึดที่ดินเป็นของรัฐและการใช้ค่าเช่าจากที่ดินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐ ภาษีเงินได้ที่เก็บในอัตราส่วนที่สูงขึ้นเมื่อรายได้สูงขึ้น จัดเป็นการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า (progressive tax) ยกเลิกสิทธิในมรดก ให้มีศูนย์กลางสินเชื่อ โดยการจัดตั้งธนาคารของรัฐ และรัฐเป็นเจ้าของโรงงานมากยิ่งขึ้นและให้มีการจัดสรรที่ดิน เป็นต้น
องค์ประกอบของลัทธิ มาร์กซ์ (Marxism) มี 3 ประเด็น คือ
1.) ทฤษฎีวิภาษทางวัตถุ
2.) ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมือง
3.) ทฤษฎีว่าด้วยรัฐและการปฏิวัติ
3. อลัทธิสังคมนิยม
Socialism เริ่มมีปรากฎใช้คำนี้เป็นครั้งแรกในประเทศอิตาลี แต่มีความหมายเกี่ยวกับสังคมทั่วไปช่วงเวลาต่อมา Robert Owen ชาวอังกฤษได้ให้ความหมายของ Socialism และพัฒนาขอบเขตของความหมายที่ใกล้เคียงกับความหมายปัจจุบันปรากฎใน หนังสือ ของ Saint Simon นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสลัทธิสังคมนิยมในยุคแรกมีเป้าหมายที่ต่อต้านลัทธิปัจเจกชนนิยม เกิดขึ้นในสมัยปฏิรูปศาสนา โดยมาร์ตินลูเธอร์เป็นผู้นำความคิดที่ว่า บุคคลมีความสำคัญในตนเอง ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตนให้คล้อยตามระเบียบปฏิบัติของสังคม เมื่อเห็นว่าการใดไม่เหมาะสมก็ไม่ต้องปฏิบัติตามสังคม วิถีความคิดของสังคมนิยม ให้ความสำคัญต่อมวลสมาชิกสังคมภายใต้ความเชื่อที่ว่าบุคคลไม่อาจถูกแยกออกจากสังคมได้ ลักษณะที่สำคัญของสังคมนิยมคือ การมุ่งเน้น สร้างรัฐสวัสดิการ(Welfare State) ถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแลความเป็นอยู่ของทุกคนในสังคม ดังเช่น กลุ่มประเทศแถบยุโรป หรือ สวีเดน เดนมาร์คและสิงค์โปร์ เป็นต้น
4.ลัทธิประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นศัพท์ที่ใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด ประเทศที่ปกครองโดยรูปแบบเผด็จการบางประเทศยังกล่าวอ้างความเป็นประชาธิปไตยของตน ระดับความเข้าใจในอุดมการณ์หรือลัทธิประชาธิปไตยจึงมีลักษณะที่หลากหลาย หากจัดแบ่งประเภทหลัก ๆ ของประชาธิปไตยที่เป็น
                อุดมการณ์การเมืองนั้นแบ่งได้ 2 กลุ่มแนวคิด คือ
1. ประชาธิปไตยตามรูปแบบในประเทศตะวันตก
2. ประชาธิปไตยตามรูปแบบของประเทศที่มิใช่ตะวันตก
1.) ประชาธิปไตยตามรูปแบบในประเทศตะวันตก
ประชาธิปไตยที่รู้จักกันโดยทั่วไปเป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในโลกตะวันตกโดยอธิบายความถึงความหมายที่ใช้ในความหมาย 2 ประการ คือ ประชาธิปไตยในฐานะเป็นรูปแบบการเมืองการปกครองประชาธิปไตยความหมายทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิตประชาธิปไตยในฐานะรูปแบบการเมืองการปกครองประชาธิปไตย(Democracy) มีความหมายที่แตกต่างกันดังนี้
1) รัฐบาล โดยประชาชนมีอำนาจปกครอง (Ruling Power) โดยตรงหรือโดยการเลือกผู้แทน
เป็นการให้ความหมายจากรากศัพท์จากภาษากรีก คือ Demos แปลว่า ปวงชน และ Kratein ซึ่งแปลว่าปกครอง (นักวิชาการบางท่านระบุว่ามาจากภาษากรีก คำว่าKratos ซึ่งแปลว่า อำนาจหรือสิทธิอำนาจ
2) รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน (โดยอับราฮัม ลินคอล์น (AbrahamLincoln) อดีตประธานาธิบดีอเมริกันเป็นผู้ให้ความหมายคำว่าประชาธิปไตย)
3) ประชาธิปไตย ได้แก่ ระบบการปกครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักการแห่งการให้อธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) ความเสมอภาคทางการเมือง (Political equality) การปรึกษาหารือกับราษฏร (Popular Consultation ) และการปกครองโดยคนส่วนมาก ( Majority Rule )จากคำจำกัดความต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วนั้นจะเห็นว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการมีรัฐบาลหรือเป็นเรื่องของการปกครองประชาธิปไตยในความหมายทางเศรษฐกิจประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ (Economic Democracy) หมายถึง การยินยอมให้มีทรัพย์สินทัดเทียมกัน คือการให้มีการกระจายรายได้และการให้โอกาสกว้างขวางทั่วทั้งสังคมประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับประชาธิปไตยทางการเมือง โดยเน้นความทัดเทียมกันทางการเมืองและโดยกระบวนการยุติธรรม นักปฏิรูปสังคมคือ Sidney Webb และ BeatriceWebb นำเสนอผลงานข้อเขียนที่ชื่อว่า ประชาธิปไตยทางอุตสาหกรรม (Industrial Demoeracy) ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการให้คนงานมีการปกครองตนเองในโรงงานประชาธิปไตยในความหมายทางสังคมหรือในฐานะวิถีชีวิตประชาธิปไตยทางสังคม(Social Democracy) คือการมุ่งสร้างสังคมให้เป็นประชาธิปไตย(Democratization of the Society)เช่น พฤติกรรมของบุคคลที่เป็นประชาธิปไตย โดยมีบุคลิกลักษณะแสดงถึงการมีใจคอกว้างขวาง การยอมรับความแตกต่างในความคิด การให้สิทธิ เสรีภาพจัดเป็นประชาธิปไตยในวิถีชีวิต (Way of life) ของการดำรงชีวิตในครอบครัว กลุ่มการงานอาชีพ เป็นต้น
2.) ประชาธิปไตยที่ประกาศใช้ในกลุ่มประเทศอื่นที่มิใช่ตะวันตก
ประเทศต่างๆหลายประเทศที่ปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์เห็นว่าการปกครองของตนเป็นแบบประชาธิปไตยทั้งนี้เป็นเพราะได้เลือกสรรผู้นำโดยวิธีการเลือกตั้ง เช่น ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกหรือประเทศจีน แม้จะมีพรรคการเมืองพรรคเดียว คือพรรคคอมมิวนิสต์ แต่การที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสเลือกตั้งจากตัวแทนพรรคการเมืองพรรคเดียวเป็นการแสดงพิธีกรรมเลือกตั้ง มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการจัดฉากที่ให้ประชาชนแสดงออกซึ่งความคิดเห็นว่า รับ หรือ ไม่รับ กลุ่มคณะบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อดังนั้นแนวคิดของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์จึงนิยามความหมายคำว่าประชาธิปไตยในรูปแบบที่เป็นกิจกรรมที่มุ่งประโยชน์ทางวัตถุที่มีต่อประชาชน กลุ่มประเทศเหล่านี้เน้นรัฐบาลเพื่อประชาชนมากกว่ารัฐบาลโดยประชาชน โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ และกระบวนการในการใช้สิทธิทางการเมือง ผู้นำบางประเทศที่นิยมลัทธิเผด็จการแบบขวาสุดที่อ้างตนว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย เช่นเบนิโต มุสโสลินี ผู้นำอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กล่าวว่า ประเทศอิตาลีในขณะนั้นบรรลุแล้วซึ่งความเป็ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงการใช้คำว่าประชาธิปไตยจึงมีความหลากหลายในเชิงความหมายและมีความแตกต่างในการการปฏิบัติ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน จึงมีศัพท์ที่ชี้เฉพาะลักษณะประชาธิปไตยด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่นเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) ประชาธิปไตยแบบรัฐบาล(Parliamentary Democracy) เป็นต้นอย่างไรก็ตามแนวคิดในลัทธิประชาธิปไตยที่ยอมรับกันว่าใกล้เคียงกับคำว่า ประชาธิปไตย มากที่สุด คือ แนวคิดของลัทธิประชาธิปไตยแบบประเทศตะวันตก นักวิชาการได้ให้ความเห็นว่าอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยประกอบด้วยหลักการในเชิงปรัชญา และหลักการในทางการเมืองการปกครองดังต่อไปนี้
5. ลัทธิฟาสซิสม์
ฟาสซิสม์ คือ อุดมการณ์หรือลัทธิทางการเมืองที่เน้นการครอบครองอำนาจของส่วนกลาง ลัทธิฟาสซิสม์จะเน้นการต้อสู้เพื่อความอยู่รอดโดยการใช้กำลัง และใช้อำนาจของผู้นำในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ โดยทั่วไปอุดมการฟาสซิสม์จะแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่มีประสบการณ์ทางประชาธิปไตยและมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ในทางตรงกันข้ามอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เป็นอุดมการณ์แบบซ้ายสุดจะแพร่หลายในประเทศที่ด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา เช่น รัสเซีย หรือจีนในยุคก่อนที่ยังไม่มีความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมดังเช่นในปัจจุบันFascism คือระบบเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ เบนิโต มุสโสลินีในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2Fascism คืออุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกับลัทธิฟาสซิสม์ที่มีปรากฏในประเทศอื่น เช่น ประเทศเยอรมัน ในยุคระบบสังคมนิยมแห่งชาติ ที่รู้จักทั่วไปในนามระบบนาซี (Nazism)หรือยุคที่ฟรานซิสโกฟรังโกปกครองสเปน หรือญี่ปุ่น ที่มีลักษณะเป็นฟาสซิสม์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2อุดมการณ์ฟาสซิสม์จัดเป็นอุดมการณ์แบบเบ็ดเสร็จ (totalitaranism) คือการมุ่งให้รัฐควบคุมพลเมืองให้อยู่ในกรอบมากที่สุด วิถีปฏิบัติแบบนี้จะทำให้รัฐบาลควบคุมความประพฤติและการปฏิบัติของประชาชนได้อย่างเต็มที่
  
อรรถาธิบาย
ทฤษฎี IR
1. เสถียรภาพ( Stability)
2.  ความมั่นคง( Security )
3. ความหลากหลาย( Diversity)
เสรีภาพ( Liberty)
5. หลักสันติภาพ

W.WRostow  ได้เสนอทฤษฎีขั้นแห่งการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ 5 ขั้น คือ
1.  สังคมโบราณ  ประชาชนทำมาหากิน  ปลูกผัก  เลี้ยงสัตว์
2.  ขั้นเตรียมการเพื่อทะยานขึ้น  ส่งนักศึกษาไปเรียนหนังสือต่างประเทศ  หาแนวคิดจากตะวันตกมาใช้
3.  ขั้นทะยานสู่การพัฒนาเกิดการเปลี่ยนแปลง
4.  ขั้นไต่ระดับสู่สังคมพัฒนา  ประเทศชาติกำลังนิ่งไม่มีปัญหา
5.  ขั้นอุดมโภคา  ประเทศชาติเกิดความมั่งคั่ง  ไพร่ฟ้าน่าใส 
       
วิเคราะห์ได้คือ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ  ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา ติมอร์ตะวันออก อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างดีซึ่งเป็นไปตามหลักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ( IR )  
1. เสถียรภาพ( Stability)
2.  ความมั่นคง( Security )
3. ความหลากหลาย( Diversity)
เสรีภาพ( Liberty)
5. หลักสันติภาพ

อีกทั้งมีลัทธิทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อ Southeast Asia  ประกอบไปด้วย 5 ลัทธิ คือ
1. ลัทธิอนาธิปัตย์ (Anachism) หรืออรัฐนิยม
2. ลัทธิคอมมิวนิสต์ ( Communism)
3. ลัทธิสังคมนิยม (Socialism)
4. ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy)
5. ลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism)

ซึ่งลัทธิที่มีอิทธิพลต่อ Southeast Asia  มากที่สุดคือลัทธิคอมนิสมิวต์และประชาธิปไตย เนื่องจากมีจำนวนประเทศสมาชิกที่อุดมการณ์หรือลัทธิทั้ง 2 เป็นจำนวนมาก อีกทั้งในอดีตประเทศมหาอำนาจของยุโรปได้เข้ามาล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้  อีกทั้งยังครอบงำอุดมการณ์ทางการเมือง
 ( Ideological Hegemony )  ภาษา   สังคมและวัฒนธรรม ดังเช่นประเทศพม่า มาเลเซีย และสิงคโปร์ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้อังกฤษครอบงำอุดมการณ์ทางการเมืองให้มีอุดมการณ์หรือลัทธิประชาธิปไตยกับประชาชน แต่เนื่องจากพม่าปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารทำให้ประชาชนผู้ซึ่งเรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมไปถึง นางอองซานซูจีถูกกดดันและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังเห็นได้อย่างชัดเจนซึ่งในปัจจุบันจาก พลังของอุดมการณ์ประชาธิปไตยนำโดยฝ่ายนักศึกษาและนางออง ซาน ซู จี และพลังสุดท้ายคือแรงกดดันจากภายนอก ได้แก่ประชาคมโลก ซึ่งลำพังนางออง ซาน ซู จีและนักศึกษาไม่สามารถต่อกรกับรัฐบาลทหารพม่าได้ จนทำให้ความหวังของชนกลุ่มน้อยในการเรียกร้องระบอบการปกครองประชาธิปไตยลดลงเหลือน้อย

อีกทั้งจะเห็นได้ว่ากระแสของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แพร่การจายขยายมาถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามทฤษฎี โดมิโน ในยุคหลังสงครามโลกครรั้งที่ 2 อย่างชัดเจน ทำให้สหรัฐอเมริกามองว่า การปล่อยให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบบเปิดนั้นจะทำให้ประเทศทั้งหลายขาดเอกภาพ และเท่ากับเปิดช่องให้พลังคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซงได้โดยง่าย ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนให้เหล่าอำนาจนิยมพากันยึดอำนาจ สหรัฐฯ ได้เลือกสนับสนุนเหล่าเผด็จการทหารเช่น จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ในประเทศไทย ซูฮาโต้ในอินโดเนเซีย มาร์กอส ในฟิลิปปินส์ ยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตย โดยมุ่งหวังจะใช้อำนาจเผด็จการสร้างเอกภาพขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดพลังในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์เสียแต่ต้น
                พลวัตรทางการเมืองในเอเชียตะวันอออกเฉียงใต้ กรณี ไทย อินโดนนีเซีย ฟิลิปปินส์และพม่า
อาจเป็นการยากหากจะกำหนดว่าการพิจารณาถึงการเมืองสมัยใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉีจยงใต้นั้นต้องมองย้อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเท่าที่มีการศึกษากัน มักเริ่มมองจากยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่รัฐต่างๆ ได้รับเอกราช และพากันสถาปนาระบอบการปกครองในรูปแบบใหม่ แม้ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้น ทว่าอาจถูกศึกษาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆได้ เนื่องจากทิศทางการดำเนินการทางการเมืองของไทยไม่แตกต่างจากอดีตประเทศอาณานิคมทั้งหมดที่พยายามก้าวเท้าแรกสู่หนทางประชาธิปไตย
ภายหลังเอกราช ทุกประเทศในเอเชียอาคเนย์พยายามสถาปนาระบอบประชาธิปไตย ทั้งในพม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเชีย และในประเทศไทย กระแสการก่อร่างประชาธิปไตยและการพัฒนาภูมิภาคของประเทศทั้งหมดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังที่ทราบกันทั่วไปว่า ประเทศต่างๆภายหลังได้รับเอกราชต่างพยายามสถาปนาระบอบการปกครองแนวประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านี้ต่างก็ประสบกับความล้มเหลว
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน รัฐต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนกลายเป็นรัฐเผด็จการ คำถามมีว่า เพราะเหตุใดสถานการณ์จึงพลิกผัน ( Tipping point )ไปเช่นนั้น มีการพยายามหาคำตอบจากสภาพที่พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือนี้ บ้างตอบว่า การที่ประเทศทั้งหลายกลายเป็นเผด็จการ แทนที่จะเป็นประชาธิปไตยภายหลังได้รับเอกราชนั้น เป็นเพราะสงครามเย็นที่กำลังเริ่มขึ้น ขณะนั้นอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เริ่มเผยแพร่สู่ทุกรัฐ มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศในด้านหนึ่ง
ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้นภายหลังได้เอกราชและสถาปนาการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ปรากฏการณ์ของความขัดแย้งของชนกลุ่มต่างๆ และความขัดแย้งกันเองในกลุ่มชนชั้นนำ ได้นำมาซึ่งความปั่นป่วนทั่วดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ตรงนี้สหรัฐอเมริกามองว่า การปล่อยให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบบเปิดนั้นจะทำให้ประเทศทั้งหลายขาดเอกภาพ และเท่ากับเปิดช่องให้พลังคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซงได้โดยง่าย ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนให้เหล่าอำนาจนิยมพากันยึดอำนาจ สหรัฐฯ ได้เลือกสนับสนุนเหล่าเผด็จการทหารเช่น จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ในประเทศไทยซูฮาโต้ในอินโดเนเซียมาร์กอส ในฟิลิปปินส์ยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตย โดยมุ่งหวังจะใช้อำนาจเผด็จการสร้างเอกภาพขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดพลังในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์เสียแต่ต้นลม
อย่างไรก็ตาม คำตอบเพียงเท่านี้อาจไม่เพียงพอต่อการอธิบายพลวัตรทางการเมืองภายหลังเอกราชของภูมิภาคนี้ ดังนั้น การจะเข้าใจถึงความล้มเหลวของประชาธิปไตยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และการที่รัฐบาลเผด็จการสามารถสถาปนาอำนาจขึ้นมาได้นั้น จะต้องเข้าใจว่าจริงๆแล้ว แม้จะมีความพยายามในการสร้างระเบียบทางการเมืองแบบสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่อย่างไรก็ตามแท้จริงแล้วการเมืองในเอเชียตะวันยออกเฉียงใต้ยังผูกติดกับธรรมเนียมปกครองแบบโบราณอยู่ 
จารีตทางการเมืองแบบดั้งเดิมของภูมิภาคนี้ ยังคงเป็นพลังที่สำคัญในการกำหนดทิศทางในทางการเมืองของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังได้รับเอกราช"ขาดชนชั้นกลางที่เป็นอิสระจากรัฐ" ในขณะเดียวกันโครงสร้างทางชนชั้นที่สำคัญในสังคมก็ยังคงเป็นแบบดั้งเดิมนั้นก็คือ การที่มีชนชั้นสูง( ซึ่งเป็นผู้ถือครองอำนาจ ) และชาวบ้าน ( ที่ถูกกันออกไปจากวงจรของอำนาจ ) ที่แบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
ผู้ปกครองรัฐคือชนชั้นสูงที่มีลักษณะการสืบทอดทางการเมืองรูปแบบเดิม กล่าวคือฝ่ายใดมีพลังมากกว่า ก็สามารถเข้าแย่งชิงและยึดครองอำนาจรัฐหรืออำนาจการปกครองในสังคมไว้ได้ ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย เมื่อรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ ครองอำนาจอยู่ได้ไม่นานก็ถูกรัฐประหารโดยกลุ่มซอยราชครู ภายใต้การนำของจอมพลผิน ชุณหะวัณและพลเอกเผ่า ศรียานนท์ ต่อมาจึงเกิดความขัดแย้งระหว่างพลตำรวจเอกเผ่ากับจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ การเปลี่ยนถ่ายอำนาจเช่นนี้สังเกตได้ว่าเป็นการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นบนของสังคมทั้งสิ้น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่สามารถมีระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากการสืบทอดการเมืองในแบบดั้งเดิมนี้เอง
ความเข้าใจประการต่อมาก็คือ ความขัดแย้งทางการเมืองที่เห็นได้ชัดเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ซึ่งสามารถอธิบายได้จากการย้อนกลับไปเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของศูนย์อำนาจแต่ดั้งเดิมของดินแดนแถบนี้ นั่นก็คือก่อนถูกยึดครองเป็นอาณานิคม เอกภาพที่แท้จริงไม่เคยปรากฏขึ้น เนื่องเพราะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เต็มไปด้วยศูนย์กลางอำนาจใหญ่น้อยที่เป็นอิสระและกึ่งอิสระ การที่ศูนย์อำนาจหนึ่งขึ้นต่อศูนย์อำนาจหนึ่งเป็นเรื่องสวามิภักดิ์ หาใช้การกลืนเป็นเนื้อเดียวกันไม่
หน่วยทางการเมืองที่เจ้าอาณานิคมสถาปนาขึ้นซึ่งจะกลายเป็นพม่า อินโดเนเซีย ฟิลิปปินส์ หรือกระทั้งไทย ล้วนสถาปนาขึ้นบนศูนย์อำนาจต่างๆ ซึ่งแม้แต่พลังชาตินิยมที่เป็นพลังในการปลดปล่อยอาณานิคมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ไม่สามารถสมานลักษณ์บรรดาศูนย์อำนาจเดิมซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ เหล่านี้ได้ ดังนั้นประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเอกภาพและการจัดระเบียบเชิงสถาบันที่ไม่ขึ้นกับผู้ใดหนึ่ง ภายในสังคมหนึ่งๆ หรือรัฐหนึ่งๆ จึงไม่สามารถสถาปนาขึ้นมาได้
เผด็จการอำนาจนิยมที่เสริมพลังด้วยอาวุธและเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาจึงสามารถสถาปนาอำนาจ ทีอาจเรียกว่าอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ต่างๆที่ใหญ่โตที่สุดเท่าที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยมีมา ขึ้นมาได้ และนี่คือคำตอบว่า เหตุใดหลังได้รับเอกราชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงไม่สามารถสถาปนาระบบประชาธิปไตยขึ้นมาได้ และโครงสร้างการเมืองในภูมิภาคนี้จึงย้อนกับไปพัฒนาเชื่อมต่อกับโครงสร้างทางการเมืองตามแบบดั้งเดิม
การเมืองของภูมิภาคระหว่างพุทธศักราช 2500-2520 แสดงความหยุดนิ่ง (Static) ไม่มีความซับซ้อนเนื่องจากพลวัตรถูกกดไว้ด้วยระบอบเผด็จการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขณะที่การเมืองหยุดนิ่ง เศรษฐกิจกลับมีพลวัตร (Dynamic) ชัดเจน ทั้งนี้เกิดจากการที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าสนับสนุนเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมควบคู่ไปกับการหนุนหลังเผด็จการ มีการเน้นย้ำทุนนิยมเสรี สนับสนุนด้านทุน และส่งเสริมบรรษัทข้ามชาติให้เข้ามาลงทุน
ทฤษฎีของ W. W. Rostow  ได้เสนอทฤษฎีขั้นแห่งการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ 5 ขั้น
1.  สังคมโบราณ  ประชาชนทำมาหากิน  ปลูกผัก  เลี้ยงสัตว์
2.  ขั้นเตรียมการเพื่อทะยานขึ้น  ส่งนักศึกษาไปเรียนหนังสือต่างประเทศ  หาแนวคิดจากตะวันตกมาใช้
3.  ขั้นทะยานสู่การพัฒนาเกิดการเปลี่ยนแปลง
4.  ขั้นไต่ระดับสู่สังคมพัฒนา  ประเทศชาติกำลังนิ่งไม่มีปัญหา
5.  ขั้นอุดมโภคา  ประเทศชาติเกิดความมั่งคั่ง  ไพร่ฟ้าน่าใส 
เป็นทฤษฎีพัฒนาการที่สหรัฐอเมริกาใช้อ้างในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแบบทุนนิยมเสรีอย่างเป็นขั้นตอน นำไปสู่กำเนิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐต่างๆ เช่น ไทย อินโดนีเซีย เป็นต้น ความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงรัฐเผด็จการนี้ได้ก่อให้เกิดปัจจัยใหม่อย่างน้อยสองประการ ได้แก่
การก่อตัวของกลุ่มทุนที่หลากหลายกว่าในอดีตทั้งกลุ่มทุนส่วนกลางและกลุ่มทุนท้องถิ่น ( ซึ่งเป็นอิสระจากรัฐ ) และการขยายตัวของบรรดาชนชั้นกลางทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน การขยายตัวนี้เกิดขึ้นในประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( ยกเว้นอินโดจีนและพม่า ในกรณีของพม่ารัฐบาลเผด็จการทหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีเนวินได้ปิดประเทศ ไม่ดำเนินทิศทางการพัฒนาแบบตะวันตก โดยเสนอนโยบายชาตินิยมที่เรียกว่าสังคมนิยมแบบพม่าขึ้นมา )
กลุ่มคนต่างๆดังกล่าวเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และโครงสร้างทางการเมืองเผด็จการในแบบเดิมไม่สามารถสนองต่อกลุ่มคนที่หลากหลายเหล่านี้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างของระบอบเผด็จการนั้น มักสนองประโยชน์แต่กับคนเพียงกลุ่มเดียวคือกลุ่มที่สังกัดอยู่กับตัวเอง ไม่เปิดโอกาสให้กลุ่มอื่นๆ ใช้ประโยชน์จากอำนาจรัฐ ดังนั้นความร่ำรวยจึงตกแก่ผู้นำและกลุ่มพรรคพวกของเผด็จการสฤษฎิ์ ถนอม-ประภาส ซูฮาร์โต มาร์กอส จึงเป็นธรรมดาที่กลุ่มทุนใหม่ที่เป็นอิสระจากรัฐที่เติบโตขึ้นมานี้ ต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในอำนาจกำหนดนโยบายทางการเมืองเพื่อสนองประโยชน์ของกลุ่มตนบ้าง
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ กลุ่มหลากหลายที่กำลังก่อตัวมีอิทธิพลทำให้การเมืองของภูมิภาคในช่วงสองทศวรรษนี้มีพลวัตรสูง จากเดิมที่รัฐต่างๆเคยถูกปกครองภายใต้ระบบราชการและทหาร (Bureaucratic Polity) ตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ มาช้านาน กลุ่มชนต่างๆเริ่มแสดงบทบาทต่อการเมืองเพื่อจัดสรรและแบ่งปันอำนาจมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อจัดโครงสร้างแห่งอำนาจที่เปิดโอกาสให้คนกลุ่มต่างๆ แข่งขันกันครองอำนาจรัฐเพื่อใช้อำนาจนั้นสนองประโยชน์ของกลุ่มตนนั้น เริ่มจากประเทศไทยเป็นแห่งแรก เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คือสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อสถาปนาโครงสร้างแห่งอำนาจแบบใหม่ ภายหลังจากนั้นจึงถึงคราวฟิลิปปินส์ที่โค่นล้มรัฐบาลเฟอร์ดินาน มาร์กอส และต่อมาเมื่อเร็วๆ นี้ซูฮาร์โตของอินโดนีเซียถูกกำจัดออกไป และมีการสถาปนาโครงสร้างทางการเมืองแบบใหม่ขึ้น
เราจะพบว่ากองหน้าของกระบวนการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวล้วนเป็นนักศึกษา ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนและภาพสะท้อนของชนชั้นกลาง เป็นตัวเบิกทางให้กลุ่มอื่นเข้าสู่อำนาจ และเปิดฉากการเมืองที่ถูกเรียกว่าประชาธิปไตย พม่าซึ่งดูคล้ายว่าในที่สุดอาจเลี่ยงกระแสตะวันตกไม่พ้นได้เกิดการต่อสู้โดยหมู่นักศึกษา เช่นเดียวกับที่ทั้งซูฮาร์โต และมาร์กอสถูกโค่นล้มโดยนักศึกษา แต่เนื่องจากขนาดชนชั้นกลางซึ่งมักเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีเพียงเล็กน้อย ผนวกกับความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้คาดว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะเกิดขึ้นได้ยาก ในกรณีของพม่าปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลร่างกุ้งกำลังเผชิญหน้ากับกลุ่มพลังใหญ่ 3 พลังด้วยกัน พลังแรกคือชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นปัญหาดั้งเดิมที่สุด พลังต่อมาคืออุดมการณ์ประชาธิปไตยนำโดยฝ่ายนักศึกษาและนางออง ซาน ซู จี และพลังสุดท้ายคือแรงกดดันจากภายนอก ได้แก่ประชาคมโลก ซึ่งลำพังนางออง ซาน ซู จีและนักศึกษาไม่สามารถต่อกรกับรัฐบาลทหารพม่าได้ ขณะที่ความหวังของชนกลุ่มน้อยในการต่อกรกับรัฐบาลก็ริบหรี่ โดยรวมแล้วรัฐบาลทหารพม่ายังควบคุมสถานการณ์ภายในไว้ได้ในมือ ดังนั้น หากการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในประเทศนี้ ย่อมเป็นการยากที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน พลังพลักดันความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกจะส่งผลได้มากกว่า
ในที่สุด "สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย" ก็ได้ถูกสร้างขึ้นในรัฐใหญ่ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาเหตุที่เรียกว่า "สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย" นั้นก็เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีความคล้ายประชาธิปไตย หรือถูกคาดหวังให้เป็นประชาธิปไตย แต่โดยแท้จริงแล้วหาได้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่
"สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย" นี้เกิดเป็นการเมืองที่มีลักษณะเปิดในระดับหนึ่ง ผู้ที่ได้ประโยชน์คือกลุ่มทุนต่างๆ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นที่ต่อมารวมตัวเป็นพรรคการเมืองปัจจุบัน พรรคการเมืองเหล่านี้แก่งแย่งกันขึ้นสู่อำนาจ เพื่อจะได้กำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของตนเอง สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมคือระบบการเลือกตั้งฉ้อฉลที่เป็นอยู่ในภูมิภาคนี้
อย่างไรก็ตาม สภาพปัจจุบันเกิดปรากฏการณ์การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ตัวอย่างของพลังภาคประชาชนนี้ก็ดังเช่นกรณีที่ พลเอกสุจินดา คราประยูร และคณะ รสช. กระทำรัฐประหารเพื่อพลิกการปกครองประชาธิปไตยให้กลับกลายเป็นการเมืองที่ทหารและข้าราชการมีอำนาจ การต่อต้านจากภาคประชานจึงได้เกิดขึ้น และขจัดเขาและคณะออกจากอำนาจในที่สุด และเมื่อประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา ผู้ซึ่งหาเสียงเข้าข้างชาวบ้าน กลับกระทำตนเป็นผู้นำที่ฉ้อฉลตามแบบยุค เฟอร์ดินาน มาร์กอส ภาคประชาชนก็ได้โค่นล้มเอสตราดาลง  จึงเห็นได้ว่า ภาคประชาชนเป็นตัวแปรในทางการเมืองที่สำคัญขึ้น
อย่างไรก็ตามพลวัตรทางการเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้หยุดอยู่เพียงการขึ้นมาของกลุ่มทุนและการเกิดขึ้นของภาคประชาชนเท่านั้น "สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย" ยังได้นำมาซึ่งการเปิดตัวของกลุ่มคนที่ไม่เคยปรากฏอย่างมีนียสำคัญมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือ"ชาวบ้าน"ซึ่งในอดีตปรากฏตัวแต่เพียงน้อยครั้งในช่วงวิกฤติการเมืองเมื่อผู้นำขาดธรรมะ และมีความปั่นป่วนภายใน ดังเช่นที่เคยเกิดกบฏไพร่ ต่างๆ ขึ้น ชาวบ้านดังกล่าวปรากฏตนเพื่อแสดงบทบาทเป็นครั้งคราว จากนั้นจึงสลายตัวไปเมื่อสิ้นวิกฤตการณ์นั้นๆ
แต่ในปัจจุบันดังในกรณีของไทย การลุกขึ้นมาต่อสู้ของชาวบ้านไทยในกรณีเขื่อนต่างๆ หรือดังเช่นกรณีท่อก๊าสไทย-มาเลเซีย หรือกรณีโรงงานไฟฟ้าที่หินกรูด เป็นต้น คือการปรากฏตัวของชาวบ้านในพื้นที่การเมืองที่อาจมีนัยที่สำคัญยิ่ง
ในขณะเดียวกันทั่วโลกกำลังจับตามองอินโดนีเซียในฐานะแผ่นดินโกลาหลที่มองอนาคตไม่ออก หลังจากการลงจากอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โต แรงซึ่งเคยเกาะเกี่ยวประเทศกว้างใหญ่และเต็มไปด้วยหมู่เกาะและชาติพันธุ์ก็สลายลง ปรากฏเป็นปรากฏการณ์การประทุขึ้นของคนกลุ่มต่างๆ เช่นบนเกาะ"อัมบน" ที่นับถือคริสตศาสนา ดินแดนอาเจะห์ เกาะบอร์เนียวซึ่งเป็นถิ่นของชนเผ่าดายัค รวมถึงติมอร์ตะวันออกที่กลายเป็นรัฐอิสระในที่สุด สิ่งเหล่านี้เป็นพยานของความล้มเหลวในการที่รัฐไม่สามารถควบคุมพลังต่างๆได้อีกต่อไป
การเมืองที่เปิดออกในอินโดนีเซียเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มต่างๆแสดงพลังที่รัฐบาลของประธานาธิบดีวาฮิดไม่อาจทำอะไรได้ จึงเป็นการยากที่จะคาดเดาว่าสภาพการณ์ต่อไปของอินโดนีเซียจะเป็นเช่นไร ประเทศอาจแตกออก
เราจะพบว่าในสถานการณ์ปัจจุบันการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังอยู่ภายใต้พลวัตรอย่างสูง เกิดปรากฏการณ์ของการปรากฏตัวขึ้นของคนทุกกลุ่มในทางการเมือง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน แน่นอนว่าอำนาจยังคงอยู่ในมือของกลุ่มทุน ( และยังอยู่กับกลุ่มเผด็จการทหารในกรณีของพม่า ) แต่ทว่าคนกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งชาวบ้านก็เริ่มที่จะแสดงบทบาทของตนมากขึ้น และดูเหมือนว่า การสถาปนาโครงสร้างทางการเมืองในแบบอื่นๆ ที่มิใช่จำกัดการครองอำนาจอยู่แต่เพียงโดยกลุ่มทุนและทหารข้าราชการเป็นจะสิ่งที่จำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อให้โครงสร้างแห่งอำนาจแบบใหม่นี้สถาปนาความยุติธรรม มีความเสมอภาค และสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร จะเป็นหนทางที่ไม่ทำให้การต่อสู้ทางการเมืองนำไปสู่ความรุนแรง ดังเช่นที่มีแนวโน้มให้เห็นถึงความรุนแรงอยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ข้อเสนอแนะ
                1.  การขาดเอกภาพของประเทศสมาชิกในเอเชียงตะวันออกเฉียงใต้ ไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหา ดังเช่น สหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนอำนาจนิยมหรือเผด็จการทหาร เช่น จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ในประเทศไทย ซูฮาโต้ในอินโดเนเซีย มาร์กอส ในฟิลิปปินส์ ให้พากันยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตย โดยมุ่งหวังจะใช้อำนาจเผด็จการสร้างเอกภาพขึ้น เพื่อจะได้เกิดพลังในการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ผิดและยังอาจจะทำให้เกิดผลร้ายต่างๆตามมาภายหลังได้  ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจึงควรปล่อยให้เป็นไปตามการได้มาซึ่งผู้ปกครองหรือผู้นำประเทศตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่น การเลือกตั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากประชาชนคนในชาติ เป็นต้น เพื่อการได้มาซึ่งผู้แทนหรือผู้ปกครองที่ดีมีความรู้ความสามารถในการบริหารประเทศปกครองประเทศ ประชาชนต่างยอมรับ ความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นในตัวของผู้ปกครองตลอดไปถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ส่วนร่วมในการบริหารประเทศซึ่งจะทำให้เกิดความโปรงใส่ในการปกครองประเทศ เพื่อทำให้เกิดผลประโยชน์แห่งชาติ ( National  Interrest )โดยรวม อีกทั้งจะนำไปสู่การสมัครสมานสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ นำไปสู่ความเป็นเอกภาพของประเทศชาติและความเจริญก้าวหน้าของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                2. ประเทศสมาชิกทั้ง 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ว่าจะมีอุดมการณ์หรือลัทธิใดก็ตามควรมีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้น เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางของการประสานความสัมพันธ์และเป็นสถานที่ประชุมพบปะ เจรจากันระหว่างประเทศสมาชิกในรูปแบบพหุภาคี ทั้งในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกที่แน่นแฟ้นและมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น